รู้เท่าทันโรคหัวใจขาดเลือด พร้อมป้องกันและรักษาถึงต้นตอ!

โรคหัวใจขาดเลือด

เราจะรักษา ลดละ และป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดได้อย่างไร

หนทางที่สามารถรักษาโรคหัวใจขาดเลือด (Ischaemic Heart Disease) คือการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตซึ่งช่วยการลดปัจจัยเสี่ยงสำหรับก่อเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากเส้นเลือดหัวใจตีบ ทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้มีการตีบของเส้นเลือดหัวใจและยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจลงด้วย

 

ลงทะเบีนเพื่อให้เราติดต่อกลับหาคุณ

ราคา

0.- บาท / ครั้ง

Promotion

ราคา

0.- บาท / ครั้ง

สิ่งที่ลดปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่

  • งดสูบบุหรี่อย่างเคร่งครัด
  • ลดและควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หาวิธีจัดการกับความเครียด เช่น ทำงานอดิเรกที่ชอบ นั่งสมาธิ ฝึกกำหนดลมหายใจ
  • ควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ความดันโลหิตให้อยู่เกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง

 

โรคหัวใจขาดเลือด

  • หลีกเลี่ยงการรับสารพิษโลหะหนักโดยไม่จำเป็น
  • ควบคุมการรับประทานอาหาร โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีพลังงานเหมาะสมและมีสารอาหารครบทุกหมู่
  • ควรมีการตรวจเลือดเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์และอัมพาต ตรวจได้จาก
     
    • การตรวจวัดระดับไขมันในเลือด: ไขมันที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด (ด้านใน) นั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือดซึ่งจะนำไปสู่การมีหลอดเลือดตีบ ถ้าหลอดเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบจนถึงระดับที่ทำให้เลือดที่ไหลผ่านอยู่ภายในหลอดเลือดผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของหัวใจ ก็จะทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การตรวจวัดระดับไขมันในเลือด
    • Total Cholesterol: ถ้ามีระดับสูง ทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบตันได้
    • LDL Cholesterol: ถ้ามีระดับสูง ทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบตันได้
    • Triglyceride: ถ้ามีระดับสูง ทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบตันได้
    • HDL Cholesterol: ช่วยลำเลียงไขมันที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดออกไป ถ้ามีระดับสูงจะช่วย ป้องกันหลอดเลือดตีบตันได้
    • การตรวจวัดระดับ CRP (high sen.) & ESR (Erythrocyte sedimentation rate): ที่บ่งบอกถึงการอักเสบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และผนังหลอดเลือด ไขมันที่เกาะที่ผนังหลอดเลือดนั้นจะทำให้มีการอักเสบของผนังหลอดเลือดด้วย ดังนั้นค่า CRP และ ESR ที่สูง จะเป็นการทำนายความเสี่ยงในการอักเสบของผนังหลอดเลือด
    • การตรวจวัดระดับ Homocysteine: ถ้ามีระดับ Homocysteine ในเลือดสูง จะทำลายเยื่อบุภายในของหลอดเลือด มีผลให้เกิดคราบไขมันอุดตันในหลอดเลือด ซึ่งจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน
    • การตรวจวัดระดับ Ferritin: หากมีระดับ Ferritin ในเลือดสูง แสดงว่าร่างกายมีธาตุเหล็กสูง ซึ่งจะทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้เพิ่มขึ้นและเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน แต่ถ้ามีระดับ Ferritin ในเลือดต่ำ แสดงว่าร่างกายมีธาตุเหล็กต่ำและอาจมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคโลหิตจางได้
    • การตรวจวัดระดับ Apolipoprotein A1 (Apo A1): จะช่วยลำเลียงไขมันที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดออกไป ถ้ามีระดับสูงจะช่วยป้องกันหลอดเลือดตีบตัน
    • การตรวจวัดระดับ Fibrinogen: หากมีระดับ Fibrinogen สูง จะทำให้เกล็ดเลือดเกาะตัวกัน และเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน

 

โรคหัวใจขาดเลือด

IV Chelation

 

การล้างพิษด้วยการทำคีเลชั่น (IV Chelation) โดยใช้ EDTA (Ethylene diamine tetra-acetic acid) ที่ผสมกับวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทางเส้นเลือดดำ จะช่วยขจัดสารโลหะหนักที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ให้สามารถรักษาอาการอักเสบตามผนังหลอดเลือด เพื่อให้เลือดไหลเวียนเลือดสะดวก ทั้งยังสามารถใช้เสริมการรักษาโรคอื่น เช่น โรคหลอดเลือดตีบตัน โรคภูมิแพ้ โรคปวดข้อ เป็นต้น ซึ่งช่วยให้สุขภาพองค์รวมของคุณสมบูรณ์และแข็งแรงพร้อม

ดังนั้น IV Chelation จึงเป็นหนึ่งในหนทางที่นิยมใช้รักษาโรคหลอดเลือดแดงตีบแข็ง (Atherosclerosis) โรคทางระบบไหลเวียนเลือด รวมทั้งละลายไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดได้ด้วยคุณสมบัติของ Disodium EDTA ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดยืดหยุ่นพอให้เลือดไหลเวียนสะดวกไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบแข็ง (Atherosclerotic Vascular Disease) ดังงานวิจัยมากมายได้ค้นพบว่าการใช้ EDTA ร่วมกับวิตามินและเกลือแร่จะช่วยเพิ่มระดับ HDL-Cholesterol ซึ่งเป็นไขมันดีชนิดไม่จับกับผนังเลือด ทั้งยังป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้สารพิษที่ตกค้างในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจได้มีประสิทธิภาพ

ดังนั้น Chelation Therapy จึงมีส่วนช่วยป้องกันการอักเสบของผนังหลอดเลือด ป้องกันโรคความเสื่อมต่าง ๆ เนื่องจาก EDTA ช่วยในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายนั่นเอง

การฉีด EDTA เข้าทางหลอดเลือดดำจะเพิ่มการขับโลหะหนักออกทางปัสสาวะ และจากการที่ EDTA นั้นสามารถจับกับโลหะหนักและขับออกทางปัสสาวะได้อย่างรวดเร็ว จึงมีส่วนช่วยตับและไตในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ทำให้ตับและไตไม่ต้องทำงานหนักเกินไป EDTA มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากร่างกายสามารถกำจัดได้ในเวลา 48 ชั่วโมง ดังนั้นจึงไม่มีผลข้างเคียงร้ายแรง นอกจากอาจเกิดอาการปวดศีรษะ ระคายเคืองผิวหนัง ท้องเสีย เหนื่อยง่าย ปวดตามข้อ