พิษกินเค็ม ก่อโรค! กินอาหารเค็มอย่างไรจึงเสี่ยงโรคน้อยลง

กินเค็ม

พูดถึงเรื่องการรับประทานอาหาร หลายคนย่อมใส่ใจเรื่องรสชาติและนำมาด้วยการปรุงแต่งรสต่าง ๆ ด้วยเครื่องปรุงหลากหลายเพื่อให้ได้รสเปรี้ยว เค็ม หวานและเผ็ดตามที่ต้องการ แต่การทานอาหารรสจัดนั้นไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่มีรสเค็ม


กินเค็ม เสี่ยงโรค

รู้จัก 'เกลือ' ให้ดีเสียก่อน


เมื่อพูดถึงเกลือ หลายคนจะนึกถึงเกลือที่ใช้ใส่อาหาร แต่ในทางการแพทย์เกลือ เป็นสารประกอบ 2 ตัวคือ โซเดียม และ คลอไรด์ ในเกลือมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบร้อยละ 40% ส่วนคลอไรด์เป็นส่วนประกอบอีก 60%  ดังนั้นในเกลือ 1 กรัม จะมีโซเดียม 0.4 กรัม หลาย ๆ คนคิดว่าโซเดียม คือสารที่มีรสเค็ม แต่แท้จริงแล้วโซเดียมยังมีอยู่ในส่วนประกอบอีกมากมายซึ่งไม่มีรสชาติ หากต้องการจะหลีกเลี่ยงพิษของโซเดียม คงไม่ใช่แค่การไม่ทานเกลือ เพราะโซเดียมมีอยู่ในอาหารเกือบทุกอย่างที่ใส่สารปรุงรส ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสปรุงรสต่าง ๆ ผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตาเมต) หรือแม้กระทั่งผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต) ล้วนเป็นโซเดียมทั้งนั้น


กินเค็ม เสี่ยงโรค

คนไทยโดยเฉลี่ยกินเค็มเยอะ เสี่ยงโรคไตและโรคหัวใจ


ในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งอาหาร ขนม ผลไม้ต่าง ๆ ถูกแวดล้อมไปด้วยเกลือ คนไทยมีการบริโภคเกลือสูงเกิน 4,000 มิลลิกรัม/วัน จากค่าเฉลี่ยมาตรฐาน ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน ร่างกายคนเราไม่สามารถสร้างโซเดียมได้ นอกจากการรับประทานอาหาร แท้จริงแล้วโซเดียมเป็นสารที่สำคัญต่อร่างกาย โซเดียมจะทำงานควบคู่กับโพแทสเซียม ในการรักษาสมดุลความกรด-ด่าง ของร่างกาย รักษาการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อในร่างกาย

เราจึงควรรับโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสม เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ร่างกายรับโซเดียมเข้ามามากเกินไป ต้องมีการขับออกทางเหงื่อ ปัสสาวะ อุจจาระ ดังนั้นเมื่อเราทานโซเดียมเข้าไปมาก ๆ จะทำให้อวัยวะที่ใช้ในการขจัดสารพิษออกจากร่างกายไม่ว่าจะเป็น ตับ ไต ทำงานหนักมากกว่าเดิม โซเดียมเป็นสารที่มีผลต่อการกระจายน้ำในร่างกาย ถ้าร่างกายมีโซเดียมเยอะ ก็จะทำให้น้ำไปอยู่ในร่างกายเยอะ อาจทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ หลอดเลือดทำงานหนัก หัวใจทำงานหนัก ไตทำงานหนัก ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ไตวาย กระดูกพรุน มะเร็งกระเพาะอาหาร ภูมิแพ้ และมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงอีกด้วย


กินเค็ม เสี่ยงโรค

ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรคจากการกินเค็ม


วิธีการดูแลตัวเองที่สุด คือ การป้องกัน เราต้องรู้ก่อนป่วย ด้วยศาสตร์การแพทย์ที่ดูแลการทำงานของร่างกาย (Functional medicine) โดยยึดตัวร่างกายเป็นหลัก ฟื้นฟูสุขภาพเพื่อให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเอง โดยเริ่มจากตรวจหาความผิดปกติของร่างกายด้วย (Biofeedback) โดยวิธีการปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ เข้าไปในร่างกายเพื่อตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ต่าง ๆ ก็จะช่วยให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ เช่น

    • การควบคุมการรับประทานอาหาร ไม่ควรทานอาหารแปรรูป เพราะโซเดียมจะมีอยู่สารต่าง ๆ ที่ทำให้อาหารสด ทำให้สีสวย ทั้งหมดนี้เป็นตัวสร้างโรค
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเหมาะสม เพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
    • การรับประทานอาหารเสริม ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพร หรือสารในกลุ่มโฮมีโอพาธีย์ (ศาสตร์ธรรมชาติบำบัด) เพื่อช่วยให้ร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ระบบขจัดสารพิษในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ช่วยสร้างสมดุลให้ร่างกาย
    • ปรับเปลี่ยนสไตล์การใช้ชีวิต ลดความเครียด ปรับสมดุลของระบบประสาทเพื่อให้เซลล์ทำงานดี ร่างกายทำงานได้ดี ช่วยให้อวัยวะที่ขจัดสารพิษออกจากร่างกายทำงานดีขึ้น ให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองได้ดีที่สุด

         การดูแลสุขภาพในแนวป้องกัน เป็นการดูแลสุขภาพที่ดีที่สุด หลาย ๆ คนที่มีพฤติกรรมทานอาหารอักเสบ ไม่ออกกำลังกาย มีความเครียดสูง บริโภคโซเดียมเข้าสู่ร่างกายเยอะ ต้องลุกขึ้นมาป้องกันและดูแลตัวเองก่อนที่จะป่วย ให้ร่างกายมีศักยภาพสูงสุดในการที่จะซ่อมแซมตัวเอง




สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้